Monthly Archives: March 2014

ผอ

master

 

 

ข้อตกลงเบื้องต้น

   – ข้อความที่ท่านส่งไปจะต้องเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เช่น การเรียนการสอนหรือเป็นข้อเสนอแนะที่ดีมีประโยชน์
ต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
– ไม่เป็นข้อความที่ใส่ร้ายป้ายสีใครให้เดือดร้อน และไม่พาดพิงถึงใคร ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือเสียหายใด ๆ
– ไม่เป็นข้อความที่มีลักษณะหยาบคาย กรุณาระบุชื่อ-นามสกุล โปรแกรมวิชา ชั้นปี
– หากต้องการให้ตอบข้อความที่ท่านได้ส่งมา กรุณาระบุอีเมลล์ด้วย

 

[ส่งข้อมูล]

ชื่อ - สกุล :

อีเมล์ :

เรื่อง :

ข้อความ :

captcha

ลิงค์โรงเรียนในกลุ่มเขตดอนเมือง

buttonb โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม

buttonb โรงเรียนบำรุงระวิวรรณ

buttonb โรงเรียนวัดดอนเมือง

buttonb โรงเรียนเปรมประชา

buttonb โรงเรียนพหลโยธิน

ประกวดราคา

newรับสมัครคัดเลือกบุคลากรครูผู้สอนภาษาต่างประเทศ 

newสอบราคาซื้อแบบฝึกหัดจำนวน ๓๖ รายการ

newสอบราคาซื้อหนังสือเสริมการเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน  ๗๓  รายการ

newสอบราคาซื้อหนังสือเรียน ระดับ อ.๑-๒ , ป.๑-๖ ,ม.๑-๓ จำนวน  ๑๐๑ รายการ

newประกันอุบัติเหตุสำหรับนักเรียนโรงเรียนประชาอุทิศ(จันทาบอนุสรณ์)

สอบราคา จ้างเหมาตัดเย็บชุดนอน ชุดพละ ชุดลูกเสือ ชุดยุวกาชาด ชุดเนตรนารี จำนวน ๕ รายการ 

สอบราคา สื่อและสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน ๔๕ รายการ

สอบราคาซื้อ วัสดุสื่อการเรียนการสอน ระดับ อ.๑-๒,ป.๑-๖,ม.๑-๓ จำนวน ๑๑๓ รายการ

สอบราคาซื้อ วัสดุสำนักงาน  จำนวน  ๕๗ รายการ

สอบราคาซื้อ วัสดุการศึกษา ระดับ อ.๑-๒,ป.๑-๖,ม.๑-๓ จำนวน ๕๗ รายการ

อบราคาซื้อ วัสดุการเรียนคอมพิวเตอร์  ระดับ อ.๑-๒ ,ป.๑-๖,ม.๑-๓ จำนวน ๔๒ รายการ

สอบราคาซื้อวัสดุการศึกษา(ประเภทกระดาษ) ระดับ อ.๑-๒ ,ป.๑-๖,ม.๑-๓ จำนวน ๒๒ รายการ

สอบราคาซื้อ หนังสือห้องสมุด ระดับ อ.๑-๒ , ป.๑-๖ , ม.๑-๓ จำนวน ๑๖๐ รายการ

สอบราคาซื้อ แบบฝึกหัด ระดับ ระดับ อ.๑-๒ , ป.๑-๖ , ม.๑-๓ จำนวน ๔๙ รายการ

สอบราคาซื้อ หนังสือเรียน ระดับ อ.๑-๒ , ป.๑-๖ , ม.๑-๓ จำนวน ๑๐๐ รายการ

สอบราคาซื้อ หนังสือเสริมการเรียน ระดับ อ.๑-๒ , ป.๑-๖ , ม.๑-๓ จำนวน ๔๐ รายการ

สอบราคาจ้างเหมาตัดเย็บชุดพละ ชุดลูกเสือ ชุดยุวกาชาด ชุดเนตรนารี จำนวน  ๓  รายการ

ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

สอบราคา อุปกรณ์การเรียน เครื่องใช้ส่วนตัวเด็กอนุบาล จำนวน  ๙ รายการ ตั้งแต่บัดนี้จนถึง ๒๒ ม.ค. ๒๕๕๘

สอบราคาซื้อชุดว่ายน้ำพร้อมหมวกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖

ประกาศสอบราคาประกันฯ

ประกาศสอบราคาชุดพละ

การสอบราคา

การบริหารการเงินและบัญชี

การตกลงราคา

การสอบราคาอุปกรณ์การเรียน/เครื่องใช้ส่วนตัวอนุบาล  8  รายการ

 การเงินบำรุงการศึกษาและโครงการอาหารกลางวัน

บริหารงาน

vision

ปฏิทิน

 

calendar

เดือนพฤษภาคม 2558

calendar

เดือนมิถุนายน 2558

calendar calendar
เดือนกรกฎาคม  2558 เดือนสิงหาคม  2558

บทความ/วิจัย

บทคัดย่องานวิจัยพัฒนาทักษะการอ่าน

บทคัดย่อ

เรื่อง รายงานการพัฒนาชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางลัดดาวัลย์  รัตนห่วง
ปี  พ.ศ. 2558

 

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80

(2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียน และ

หลังเรียน โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ (3) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ

(4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้

ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/7 โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์) สำนักงานเขต      ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร จำนวน 41 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าระดับความยาก

อยู่ระหว่าง .43 ถึง .81 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .20 ถึง .35 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .82 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .768 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน สถิติที่ใช้ คือ t-test แบบ Dependent Sample

 

 

ผลการศึกษา พบว่า

  1. ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.73 /82.44 โดยมีประสิทธิภาพของกระบวนการ

เท่ากับ 82.73 และมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เท่ากับ 82.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  1. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิต

ของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.7947 แสดงว่า นักเรียน

มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 79.47

  1. 4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง

การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

บทคัดย่อ กทอ

ชื่อเรื่อง               รายงานการสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษ

วัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้รายงาน            นางวราภรณ์  จงหมั่น

ปีที่รายงาน              ปีการศึกษา 2557

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน
ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์) สำนักงานเขตดอนเมือง  กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557  จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นห้องเรียนที่ผู้รายงานได้รับมอบหมายให้ดำเนินการสอน เครื่องมือที่ใช้
ในการศึกษาประกอบด้วย  (1) เอกสารประกอบการเรียน ชุดสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ชุด จำนวน 30 ข้อ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้ t – test (Dependent Sample)

ผลการศึกษาพบว่า

  1. เอกสารประกอบการเรียน ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.86/85.63  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
    ที่กำหนด
  2. ผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน

ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.55  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.57

บทคัดย่อ รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อผลงานทางวิชาการ        รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ของโรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์  สำนักงานเขตสวนหลวง  กรุงเทพมหานคร

ปีการศึกษา                            ๒๕๕๕

ชื่อผู้เสนอผลงาน                                นางฉวี   ธรรมเกษา

 

บทคัดย่อ

                รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของโรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์  สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบจำลองการประเมินซีโป ( CPO’S Evaluation Model ) ของ รศ.ดร. เยาวดี  รางชัยกุล วิบูลย์ศรี ใน ๓ ด้าน ดังนี้

ด้านปัจจัยพื้นฐานสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context)

ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ(Process)

และด้านผลผลิตของโครงการ (Product)

 

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางเครจซีและมอร์แกน ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน ๔๘ คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๓ คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๒๒๖ คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน ๒๒๖ คน รวม ๕๑๓ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) จำนวน ๒ ชุด คือ

ชุดที่ ๑  เป็นแบบสอบถามจำนวน ๔ ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๘๕, ๐.๙๗, ๐.๙๘ และ ๐.๘๒ ตามลำดับ

ชุดที่ ๒ เป็นแบบประเมินรายกิจกรรมตามโครงการจำนวน ๘ กิจกรรม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ๐.๘๔, ๐.๙๗, ๐.๙๓, ๐.๙๗, ๐.๘๐, ๐.๙๔ และ ๐.๘๔ ตามลำดับ ผลการประเมินโครงการ สรุปได้ดังนี้

 

๑.       ด้านปัจจัยพื้นฐานสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

๒.     ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ (Process) ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

๓.      ด้านผลผลิตของโครงการ (Product) ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากและจำแนกรายด้าน ดังนี้

๓.๑  ประเมินด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการมีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

๓.๒ ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการมีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ใน

ระดับมาก

๓.๓ ประเมินกิจกรรมตามโครงการจำนวน ๘ กิจกรรม มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

ปอ.สัมพันธ์

pumz

 

 

เพลงมาร์ช

โรงเรียนประชาอุทิศ เป็นมิตรกับบุคคลทั่วไป      หลักของเราต้องเรียนดีเรียนดี มีวินัย เคารพผู้ใหญ่ และผู้มีพระคุณ

โรงเรียนประชาอุทิศ มวลมิตรมีแต่ความอบอุ่น         ได้ครูดี มีแต่ความการุณย์ เป็นศูนย์การกีฬาวิชาการ รู้ประหยัด มัธยัสถ์ เสียสละ

มีมานะฝังใจให้บากบั่น สร้างความดีไม่มีสูญคุณอนันต์        พวกเรานั้นจะช่วยนำชัย โรงเรียนของเรา รักสามัคคี อุทิศพลีเพื่อชาติไทย

ประชาอุทิศอันเกรียงไกร ลูกและหลานไทย เชิดชูสถาบัน

สัญลักษณ์

brandlogopu

 

ข้อมูลพื้นฐาน

shead

 

ประวัติการก่อตั้ง

โรงเรียนประชาอุทิศเริ่มก่อตั้งเมื่อปีการศึกษา ๒๕๑๘ เนื่องจากการเพิ่มประชากรในกรุงเทพมหานคร  ระยะนั้น  นายประมวล  รุจเสรี  เป็นนายอำเภอเขตบางเขน  (เขตยังไม่ได้แยกขยาย)  ได้มอบหมายให้นายเฉลิม  มณีสวัสดิ์  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๔  แขวงสีกัน     เป็นผู้ติดต่อสถานที่จากผู้มีจิตศรัทธาเพื่อบริจาคให้แก่กรุงเทพมหานครโดยไม่คิดมูลค่า  นายเฉลิม  มณีสวัสดิ์ ,  นายศิริ  น้อยไม้  และคณะได้พบ  นายเหรียญ
นางเกิด  จันทาบ  เจ้าของโฉนดเลขที่ ๒๔๙๓๖  หมู่ ๔  แขวงสีกัน  ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา   จึงมอบที่ดินจำนวน ๕ ไร่  ๑  งาน  ๔๙ ตารางวา  มูลค่า  ๖๐๐,๐๐๐ บาท  (หกแสนบาทถ้วน) ให้แก่กรุงเทพมหานครผ่านนายเฉลิม  มณีสวัสดิ์  และนายศิริ  น้อยไม้  เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘

ปีการศึกษา ๒๕๑๙  กรุงเทพมหานครได้จัดสรรงบประมาณหมวดที่ดิน  และสิ่งก่อสร้างจำนวน ๑,๘๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านแปดแสนบาทถ้วน)  สร้างอาคารแบบ ร.ร. ๘๐  จำนวน ๑ หลัง  ขนาด ๑๒ ห้องเรียน  ดำเนินการก่อสร้าง  โดยบริษัทสุขเกษมก่อสร้าง  การก่อสร้างได้แล้วเสร็จ  เมื่อวันที่  ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐

ปีการศึกษา ๒๕๒๐  ได้เปิดรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๗  และฝากสถานที่เรียนไว้ที่โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศบำรุง) ชั่วคราว  ทางราชการได้แต่งตั้ง นายสุขุม  ปุญญาภินันท์  ผู้ช่วยครูใหญ่โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)  มาเป็นผู้ดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียนเปิดใหม่  พร้อมทั้งขอยืมครูจากโรงเรียนต่าง ๆ ในอำเภอบางเขน  จำนวน ๑๐ คน  มาช่วยราชการ

วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๐  ได้ย้ายนักเรียนจากโรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศบำรุง)    มาทำการสอนที่โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)  และเปิดทำการสอนมาจนถึงปัจจุบันนี้

วันที่  ๒๖  กันยายน  ๒๕๕๑  ได้รับมอบที่ดินจากกรุงเทพมหานคร โดยการจัดซื้อจาก นายสมบุญ    จันทาบ (ผู้จัดการมรดกของ นางเกิด  จันทาบ)  งบประมาณ  ๙  ล้านบาท  เนื้อที่  ๒ ไร่ ๑ งาน  ๖๑ ตารางวา  ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นและอาคารอเนกประสงค์ งบประมาณ 2558

ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน

โรงเรียนประชาอุทิศเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓  รับนักเรียนทั่วไป และเป็นโรงเรียนเรียนร่วมเพียงโรงเรียนเดียวในสังกัดสำนักงานเขต    ดอนเมือง รับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับเชาวน์ปัญญาไม่ต่ำกว่า  ๕๐ และเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนสหกิจตามข้อตกลงความร่วมมือร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครและกระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องกับโรงเรียนมัธยมสีกัน (วัฒนานันทน์อนุสรณ์)

ลักษณะ/สภาพของชุมชน   

เขตดอนเมืองเป็นเขตพื้นที่หนึ่งในกรุงเทพมหานคร  มีพื้นที่  36.803  ตร.กม ประชากร  166,635  คน (พ.ศ. 2555) ความหนาแน่น  4,527.76  คน/ตร.กม.(http://203.155.220.117:8080ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการคลังและการลงทุนของกรุงเทพมหานคร) พื้นที่เขตดอนเมือง  ถูกจัดแบ่งเป็นประเภทชุมชนในพื้นที่กรุงเทพเหนือ   ประกอบด้วยชุมชนแออัด  ๑๕  ชุมชน  ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร  ๖๐  ชุมชน ชุมชนชานเมือง ๓ ชุมชน ชุมชนเมือง 2 ชุมชน ชุมชนริมคลองเปรมประชากร จำนวน ๑๑ ชุมชน รวม ๙๑  ชุมชน (http://www.bangkok.go.th/donmueang) จากสภาชุมชนใน เขตพื้นที่ดอนเมืองจะเห็นว่ามีการเพิ่มความหนาแน่นของหลังคาเรือนมากขึ้น และจะเปลี่ยนสภาพจากประเภทชุมชนเมืองไปสู่ชุมชนแออัดต่อไป   ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย ซึ่งปัญหานั้นก็คือ ความมั่นคงในที่อยู่อาศัย อันมีผลกระทบในปัญหาตามมา คือ ขยะ คุณภาพชีวิต และความร่วมมือของประชาชนในชุมชน ที่สำคัญในด้านการศึกษาและลักษณะอาชีพเป็นผลพวงจากการเกิดชุมชนแออัดในเขตพื้นที่ดอนเมืองทั้งสิ้น  ชุมชนรอบๆ บริเวณโรงเรียน เป็นชุมชนขยาย   มีหมู่บ้านเกิดขึ้นจำนวนมาก  การจราจรติดขัดในเวลาเร่งด่วน

แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

แหล่งเรียนรู้ในเขตดอนเมือง และรอบ ๆ ชุมชน  มีหลายแห่ง ทั้งสถานที่ราชการ  และสถานที่เอกชน  เช่น  วัดดอนเมือง  วัดพุทธสยาม  วัดเวฬุวนาราม วัดพรหมรังษี   การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย   สถานีตำรวจ สำนักงานเขตหลักสี่  ที่ทำการไปรษณีย์   กรมการสื่อสารทหาร  กองบัญชาการทหารสูงสุด สถานีรถไฟ     ค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร(พิศลยบุตร)ศูนย์ส่งเสริมสถานภาพสตรี  ศูนย์เยาวชนเขตดอนเมือง ธนาคารต่าง ๆอนุสรณ์สถาน สวนสมเด็จฯ  ร้านผลิตแหนมสุนิษา  ซึ่งเป็นสินค้า OTOP  ของเขตดอนเมือง เป็นต้น

โอกาสของสถานศึกษากับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ของชุมชน

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแนวทางของหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ทำให้โรงเรียนมีโอกาสในการบริหาร และดำเนินงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School  Base  Management )  มีการกระจายอำนาจ และให้ทุกฝ่าย  ประกอบด้วย5 หน่วยงานประสานสัมพันธ์ คือ โรงเรียน  บ้าน(ผู้ปกครอง)  วัด  ชุมชน   หน่วยงาน/สถาบันต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน ซึ่งส่งผลต่อความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาการจัดการศึกษา และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นอย่างดี

ข้อจำกัดของสถานศึกษากับความร่วมมือของชุมชน

  1. สภาพเศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบันที่มีความเจริญทางด้านวัตถุ และสิ่งยั่วยุต่างๆ เข้ามา รอบๆ ชุมชน ทำให้มีผลกระทบต่อการพัฒนาเยาวชนเป็นอย่างมาก ทั้งด้านร่างกาย  สติปัญญา   อารมณ์  รวมทั้งค่านิยมและแนวทางการดำเนินชีวิต

2.    ชุมชนและผู้ปกครองไม่มีเวลาให้แก่นักเรียนอย่างเต็มที่ เพราะส่วนใหญ่ต้องประกอบอาชีพทั้งสองฝ่ายคือบิดามารดา  นักเรียนส่วนใหญ่จึงอยู่กับญาติผู้ใหญ่หรืออยู่กันตามลำพัง  การมีส่วนร่วมในการศึกษาจึงมีข้อจำกัดด้านเวลาของผู้ปกครองเป็นอย่างมากแต่โรงเรียนแก้ไขโดยใช้การสื่อสารผ่านทางด้านเอกสารแจ้งและขอความคิดเห็นจากผู้ปกครอง