ข้อมูลพื้นฐาน

shead

 

ประวัติการก่อตั้ง

โรงเรียนประชาอุทิศเริ่มก่อตั้งเมื่อปีการศึกษา ๒๕๑๘ เนื่องจากการเพิ่มประชากรในกรุงเทพมหานคร  ระยะนั้น  นายประมวล  รุจเสรี  เป็นนายอำเภอเขตบางเขน  (เขตยังไม่ได้แยกขยาย)  ได้มอบหมายให้นายเฉลิม  มณีสวัสดิ์  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๔  แขวงสีกัน     เป็นผู้ติดต่อสถานที่จากผู้มีจิตศรัทธาเพื่อบริจาคให้แก่กรุงเทพมหานครโดยไม่คิดมูลค่า  นายเฉลิม  มณีสวัสดิ์ ,  นายศิริ  น้อยไม้  และคณะได้พบ  นายเหรียญ
นางเกิด  จันทาบ  เจ้าของโฉนดเลขที่ ๒๔๙๓๖  หมู่ ๔  แขวงสีกัน  ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา   จึงมอบที่ดินจำนวน ๕ ไร่  ๑  งาน  ๔๙ ตารางวา  มูลค่า  ๖๐๐,๐๐๐ บาท  (หกแสนบาทถ้วน) ให้แก่กรุงเทพมหานครผ่านนายเฉลิม  มณีสวัสดิ์  และนายศิริ  น้อยไม้  เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘

ปีการศึกษา ๒๕๑๙  กรุงเทพมหานครได้จัดสรรงบประมาณหมวดที่ดิน  และสิ่งก่อสร้างจำนวน ๑,๘๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านแปดแสนบาทถ้วน)  สร้างอาคารแบบ ร.ร. ๘๐  จำนวน ๑ หลัง  ขนาด ๑๒ ห้องเรียน  ดำเนินการก่อสร้าง  โดยบริษัทสุขเกษมก่อสร้าง  การก่อสร้างได้แล้วเสร็จ  เมื่อวันที่  ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐

ปีการศึกษา ๒๕๒๐  ได้เปิดรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๗  และฝากสถานที่เรียนไว้ที่โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศบำรุง) ชั่วคราว  ทางราชการได้แต่งตั้ง นายสุขุม  ปุญญาภินันท์  ผู้ช่วยครูใหญ่โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)  มาเป็นผู้ดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียนเปิดใหม่  พร้อมทั้งขอยืมครูจากโรงเรียนต่าง ๆ ในอำเภอบางเขน  จำนวน ๑๐ คน  มาช่วยราชการ

วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๐  ได้ย้ายนักเรียนจากโรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศบำรุง)    มาทำการสอนที่โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)  และเปิดทำการสอนมาจนถึงปัจจุบันนี้

วันที่  ๒๖  กันยายน  ๒๕๕๑  ได้รับมอบที่ดินจากกรุงเทพมหานคร โดยการจัดซื้อจาก นายสมบุญ    จันทาบ (ผู้จัดการมรดกของ นางเกิด  จันทาบ)  งบประมาณ  ๙  ล้านบาท  เนื้อที่  ๒ ไร่ ๑ งาน  ๖๑ ตารางวา  ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นและอาคารอเนกประสงค์ งบประมาณ 2558

ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน

โรงเรียนประชาอุทิศเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓  รับนักเรียนทั่วไป และเป็นโรงเรียนเรียนร่วมเพียงโรงเรียนเดียวในสังกัดสำนักงานเขต    ดอนเมือง รับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับเชาวน์ปัญญาไม่ต่ำกว่า  ๕๐ และเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนสหกิจตามข้อตกลงความร่วมมือร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครและกระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องกับโรงเรียนมัธยมสีกัน (วัฒนานันทน์อนุสรณ์)

ลักษณะ/สภาพของชุมชน   

เขตดอนเมืองเป็นเขตพื้นที่หนึ่งในกรุงเทพมหานคร  มีพื้นที่  36.803  ตร.กม ประชากร  166,635  คน (พ.ศ. 2555) ความหนาแน่น  4,527.76  คน/ตร.กม.(http://203.155.220.117:8080ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจการคลังและการลงทุนของกรุงเทพมหานคร) พื้นที่เขตดอนเมือง  ถูกจัดแบ่งเป็นประเภทชุมชนในพื้นที่กรุงเทพเหนือ   ประกอบด้วยชุมชนแออัด  ๑๕  ชุมชน  ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร  ๖๐  ชุมชน ชุมชนชานเมือง ๓ ชุมชน ชุมชนเมือง 2 ชุมชน ชุมชนริมคลองเปรมประชากร จำนวน ๑๑ ชุมชน รวม ๙๑  ชุมชน (http://www.bangkok.go.th/donmueang) จากสภาชุมชนใน เขตพื้นที่ดอนเมืองจะเห็นว่ามีการเพิ่มความหนาแน่นของหลังคาเรือนมากขึ้น และจะเปลี่ยนสภาพจากประเภทชุมชนเมืองไปสู่ชุมชนแออัดต่อไป   ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย ซึ่งปัญหานั้นก็คือ ความมั่นคงในที่อยู่อาศัย อันมีผลกระทบในปัญหาตามมา คือ ขยะ คุณภาพชีวิต และความร่วมมือของประชาชนในชุมชน ที่สำคัญในด้านการศึกษาและลักษณะอาชีพเป็นผลพวงจากการเกิดชุมชนแออัดในเขตพื้นที่ดอนเมืองทั้งสิ้น  ชุมชนรอบๆ บริเวณโรงเรียน เป็นชุมชนขยาย   มีหมู่บ้านเกิดขึ้นจำนวนมาก  การจราจรติดขัดในเวลาเร่งด่วน

แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

แหล่งเรียนรู้ในเขตดอนเมือง และรอบ ๆ ชุมชน  มีหลายแห่ง ทั้งสถานที่ราชการ  และสถานที่เอกชน  เช่น  วัดดอนเมือง  วัดพุทธสยาม  วัดเวฬุวนาราม วัดพรหมรังษี   การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย   สถานีตำรวจ สำนักงานเขตหลักสี่  ที่ทำการไปรษณีย์   กรมการสื่อสารทหาร  กองบัญชาการทหารสูงสุด สถานีรถไฟ     ค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร(พิศลยบุตร)ศูนย์ส่งเสริมสถานภาพสตรี  ศูนย์เยาวชนเขตดอนเมือง ธนาคารต่าง ๆอนุสรณ์สถาน สวนสมเด็จฯ  ร้านผลิตแหนมสุนิษา  ซึ่งเป็นสินค้า OTOP  ของเขตดอนเมือง เป็นต้น

โอกาสของสถานศึกษากับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ของชุมชน

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแนวทางของหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ทำให้โรงเรียนมีโอกาสในการบริหาร และดำเนินงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School  Base  Management )  มีการกระจายอำนาจ และให้ทุกฝ่าย  ประกอบด้วย5 หน่วยงานประสานสัมพันธ์ คือ โรงเรียน  บ้าน(ผู้ปกครอง)  วัด  ชุมชน   หน่วยงาน/สถาบันต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน ซึ่งส่งผลต่อความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาการจัดการศึกษา และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นอย่างดี

ข้อจำกัดของสถานศึกษากับความร่วมมือของชุมชน

  1. สภาพเศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบันที่มีความเจริญทางด้านวัตถุ และสิ่งยั่วยุต่างๆ เข้ามา รอบๆ ชุมชน ทำให้มีผลกระทบต่อการพัฒนาเยาวชนเป็นอย่างมาก ทั้งด้านร่างกาย  สติปัญญา   อารมณ์  รวมทั้งค่านิยมและแนวทางการดำเนินชีวิต

2.    ชุมชนและผู้ปกครองไม่มีเวลาให้แก่นักเรียนอย่างเต็มที่ เพราะส่วนใหญ่ต้องประกอบอาชีพทั้งสองฝ่ายคือบิดามารดา  นักเรียนส่วนใหญ่จึงอยู่กับญาติผู้ใหญ่หรืออยู่กันตามลำพัง  การมีส่วนร่วมในการศึกษาจึงมีข้อจำกัดด้านเวลาของผู้ปกครองเป็นอย่างมากแต่โรงเรียนแก้ไขโดยใช้การสื่อสารผ่านทางด้านเอกสารแจ้งและขอความคิดเห็นจากผู้ปกครอง

Comments

comments