Monthly Archives: September 2014
วิจัยรองฉวี
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของ
โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
ผู้รายงาน นางฉวี ธรรมเกษา
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ เพื่อประเมินการดำเนินงานโครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารและครู จำนวน 48 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 226 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 226 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการดำเนินงานตามโครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 5 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามใช้เก็บข้อมูลก่อนดำเนินงานโครงการด้านบริบท (Context) และด้านปัจจัยนำเข้า (Input) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามใช้เก็บข้อมูลระหว่างดำเนินงานโครงการ ด้านกระบวนการ (Process) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามใช้เก็บข้อมูล หลังสิ้นสุดการดำเนินงานโครงการด้านผลผลิตของโครงการ (Product) ในส่วนของการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ และด้านคุณลักษณะของเด็กไทยในอาเซียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามใช้เก็บข้อมูลหลังสิ้นสุด การดำเนินงานโครงการด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 ฉบับที่ 5 แบบสอบถามใช้เก็บข้อมูลหลังสิ้นสุดการดำเนินงานโครงการด้านผลสำเร็จของกิจกรรมทั้ง 9 กิจกรรม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิเคราะห์สถิติ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าความถี่และวิเคราะห์คำถามปลายเปิดโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการดำเนินงานโครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียน นาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร สรุปได้ว่า
- ด้านบริบท (Context) ผลการประเมิน ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
- ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ผลการประเมิน ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
- ด้านกระบวนการ (Process) ผลการประเมิน ในภาพรวมมีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
- ด้านผลผลิต (Product) ผลการประเมิน ในภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
4.1 ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ในภาพรวมมีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
4.2 ด้านคุณลักษณะของเด็กไทยในอาเซียน มีผลการประเมินในภาพรวม
อยู่ในระดับมาก
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจ ในภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
- ผลสำเร็จของกิจกรรมทั้ง 9 กิจกรรม ในภาพรวม มีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก