Category Archives: บทความ/งานวิจัย
บทความ/วิจัย
บทคัดย่องานวิจัยพัฒนาทักษะการอ่าน
เรื่อง | รายงานการพัฒนาชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 |
ผู้วิจัย | นางลัดดาวัลย์ รัตนห่วง |
ปี พ.ศ. | 2558 |
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80
(2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียน และ
หลังเรียน โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ (3) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ
(4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้
ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/7 โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์) สำนักงานเขต ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร จำนวน 41 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าระดับความยาก
อยู่ระหว่าง .43 ถึง .81 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .20 ถึง .35 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .82 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .768 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน สถิติที่ใช้ คือ t-test แบบ Dependent Sample
ผลการศึกษา พบว่า
- ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.73 /82.44 โดยมีประสิทธิภาพของกระบวนการ
เท่ากับ 82.73 และมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เท่ากับ 82.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิต
ของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.7947 แสดงว่า นักเรียน
มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 79.47
- 4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง
การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ชื่อเรื่อง รายงานการสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษ
วัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน นางวราภรณ์ จงหมั่น
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน
ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์) สำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นห้องเรียนที่ผู้รายงานได้รับมอบหมายให้ดำเนินการสอน เครื่องมือที่ใช้
ในการศึกษาประกอบด้วย (1) เอกสารประกอบการเรียน ชุดสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ชุด จำนวน 30 ข้อ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้ t – test (Dependent Sample)
ผลการศึกษาพบว่า
- เอกสารประกอบการเรียน ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.86/85.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนด - ผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน
ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.57
บทคัดย่อ รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชื่อผลงานทางวิชาการ รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ของโรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
ปีการศึกษา ๒๕๕๕
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางฉวี ธรรมเกษา
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของโรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบจำลองการประเมินซีโป ( CPO’S Evaluation Model ) ของ รศ.ดร. เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี ใน ๓ ด้าน ดังนี้
ด้านปัจจัยพื้นฐานสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context)
ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ(Process)
และด้านผลผลิตของโครงการ (Product)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางเครจซีและมอร์แกน ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน ๔๘ คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๓ คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๒๒๖ คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน ๒๒๖ คน รวม ๕๑๓ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) จำนวน ๒ ชุด คือ
ชุดที่ ๑ เป็นแบบสอบถามจำนวน ๔ ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๘๕, ๐.๙๗, ๐.๙๘ และ ๐.๘๒ ตามลำดับ
ชุดที่ ๒ เป็นแบบประเมินรายกิจกรรมตามโครงการจำนวน ๘ กิจกรรม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ๐.๘๔, ๐.๙๗, ๐.๙๓, ๐.๙๗, ๐.๘๐, ๐.๙๔ และ ๐.๘๔ ตามลำดับ ผลการประเมินโครงการ สรุปได้ดังนี้
๑. ด้านปัจจัยพื้นฐานสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
๒. ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ (Process) ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
๓. ด้านผลผลิตของโครงการ (Product) ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากและจำแนกรายด้าน ดังนี้
๓.๑ ประเมินด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการมีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
๓.๒ ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการมีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ใน
ระดับมาก
๓.๓ ประเมินกิจกรรมตามโครงการจำนวน ๘ กิจกรรม มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก